วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนพิธีการ

พิธีการ เมื่อเตรียมการพร้อมทุกอย่างแล้ว พอถึงวันประกอบพิธีพึงปฏิบัติดังนี้
       3.1 ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะนุ่งขาวห่มขาว หรือแต่งเครื่องแบบของตนให้เรียบร้อย ไปถึงบริเวณพิธีก่อนกำหนด นั่งรอที่บริเวณพิธีตามที่จัดให้
       3.2 ถึงเวลากำหนด ให้พระอาจารย์และพระสงฆ์เข้าสู่บริเวณพิธี กราบพระพุทธรูปประธานแล้วนั่งประจำอาสนะ
       3.3 ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะหมู่บูชาจุดธูปเทียนแล้ววางดอกไม้บูชา น้อมใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย แล้วเปล่งวาจาว่า
        “อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ ข้าพระเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
        “อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ ข้าพระเจ้าขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
        “อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ ข้าพระเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
        ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ให้หัวหน้าเข้าไปจุดธูปเทียนบูชาคนเดียว นอกนั้นวางธูปเทียนดอกไม้ในที่ๆ จัดไว้ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ หัวหน้านำกล่าวคำบูชา ให้ว่าตามพร้อมๆ กัน การกราบต้องก้มลงกราบให้ถึงพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทุกครั้ง

        3.4 เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ ถวายพานเครื่องสักการะแด่พระอาจารย์ แล้วกราบพระสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์นั้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง                                                                            
        3.5 กราบเสร็จแล้วคุกเข่าประนมมือ กล่าวปฏิญาณตนให้ฉะฉานต่อหน้าคณะสงฑ์ทั้งภาษาบาลี และคำแปลเป็นตอนๆ ไปจนจบคำกล่าว ก็ไล่เรื่อยกันไป ตั้งแต่ตั้ง นะโม 3 จบ จนกระทั่งกล่าวคำปฏิญาณ ซึ่งท่านกำหนดเป็นแบบเฉพาะไว้ว่า

 การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
                                                 
        “เอสาหัง ภันเต, สุจิรปรินิพพุตัมปิ, ตัง ภควันตัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัญจ สังฆัญจ, พุทะมามโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า”
        (ถ้าเป็นผู้หญิงคนเดียวก็เปลี่ยน “พุทธมามโกติ” เป็น “พุทธมามกาติ” ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคน ชายเปลี่ยน “เอสาหัง” เป็น “เอเต มะยัง” หญิงเป็น “เอตา มะยัง” และเปลี่ยน “คัจฉามิ” เป็นคัจฉามะ”)
                           
        จากนั้นก็ฟังพระอาจารย์ให้โอวาท จบแล้วก็รับคำว่าสาธุแล้วกล่าวคำอาราธนาศีล 5 รับศีล 5 จบแล้วกราบ ถ้ามีเครื่องไทยธรรมก็ถวายท่านเสียตอนนั้น เมื่อพระสงฆ์สวดอนุโมทนาเรารับพระแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
        เพราะฉะนั้น แม้จะไม่ใช่สาระสำคัญที่สุด แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเหนี่ยวนำใจคนหมู่มาก ทำให้เกิดการรวมคนได้ ทำให้ระลึกความสำคัญของเรื่องที่เราต้องการระลึกได้ง่ายขึ้น เป็นการแสดงออกที่เด่นชัดของความเป็นชุมชน เป็นประเทศชาติ เป็นชาวพุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น